ดินเป็นกรดต้องใช้ โดโลไมท์ แบบใดจึงจะหาย

การใส่โดโลไมท์ต้องใส่ตอนไหน ใส่กี่ครั้ง ดินจึงจะหายเป็นกรดครับ

โดย วรากร  - 19 ธันวาคม 2564 12:00
ผู้ตอบ: 1  / ผู้อ่าน: 9362 
ความคิดเห็นที่ 1    โดย กลุ่มวิจัยและพัฒนาการจัดการดินเปรี้ยว กองวิจัยและพัฒนาการจัดการที่ดิน - 22 ธันวาคม 2564 11:01
คลิกเพื่อซ่อนรายละเอียด...
เนื่องจากการใช้โดโลไมท์เพื่อแก้ไขดินกรด จะต้องพิจารณาจากค่าความต้องการปูนของดิน โดยเก็บดินในพื้นที่เพาะปลูกส่งวิเคราะห์ที่ห้องปฏิบัติการ เช่น สำนักวิทยาศาสตร์เพื่อการพัฒนาที่ดิน กรมพัฒนาที่ดิน เพื่อหาค่าความต้องการปูนของดิน และใช้ปริมาณโดโลไมท์ตามค่าที่ได้ โดยใส่โดโลไมท์ก่อนปลูกพืช ประมาณ 10-15 วัน

ทั้งนี้ ขอให้ข้อมูลแนวทางการแก้ไขดินกรด เพิ่มเติม ดังนี้

1) การใช้วัสดุปูนทางการเกษตร ลดความรุนแรงของกรดในดิน
- วัสดุปูนที่นิยมใช้ ได้แก่ ปูนโดโลไมท์ ซึ่งมีทั้งแคลเซียมและแมกนีเซียมเป็นองค์ประกอบ อัตราปูนที่ใช้ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของกรดในดิน โดยทั่วไปใช้ปูนโดโลไมท์ อัตรา 300-500 กิโลกรัมต่อไร่

- การแก้ความเป็นกรดของดินในที่ดอนที่ระดับลึกมากกว่า 15 เซนติเมตร ซึ่งดินเป็นกรดจัดจนรากพืชไม่สามารถแผ่ขยายลงไปได้ การใช้วัสดุปูนมักไม่ได้ผล เนื่องจากวัสดุปูนมีการละลายและเคลื่อนลงไปในดินล่างได้น้อย จึงต้องใช้วัสดุอื่นๆ เช่น ยิปซัม หรือฟอสโฟยิปซัมที่มีคุณสมบัติในการละลาย และสามารถแทรกซึมลงไปในดินล่าง อัตรายิปซัมที่ใช้ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของกรดในดิน

2) การใส่อินทรียวัตถุ ได้แก่ ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยคอก ปุ๋ยพืชสด ช่วยเพิ่มการดูดซับธาตุอาหารพืชในดินลดการสูญเสียธาตุอาหารจากการถูกชะล้าง และอินทรียวัตถุยังช่วยลดความเป็นพิษของเหล็กและอะลูมิเนียมในดินด้วย

3) เพิ่มธาตุอาหาร การใส่ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยคอก ปุ๋ยพืชสด ร่วมกับปุ๋ยเคมี ทั้งปุ๋ยไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และโพแทสเซียม ตามชนิดและปริมาณที่เหมาะสมกับพืชที่ปลูก และฉีดพ่นด้วยฮอร์โมนหรือน้ำหมักชีวภาพ (จากสารเร่งซุปเปอร์ พด.2)

4) การคลุมดิน ใช้วัสดุคลุมดิน เศษพืชหรือปลูกพืชตระกูลถั่วคลุมดิน เป็นการรักษาหน้าดิน ป้องกันการการชะละลายหน้าดิน รักษาความชื้นในดิน และเพิ่มอินทรียวัตถุให้กับดิน

5) เลือกชนิดพืชและพันธุ์พืชที่ชอบดินกรดมาปลูก ดินกรดที่ได้รับการปรับปรุงแก้ไขแล้วสามารถปลูกพืชได้เกือบทุกชนิด แต่ต้องมีการจัดการน้ำและธาตุอาหารพืชให้เหมาะสม เกษตรกรควรรู้ช่วงเป็นกรดเป็นด่างของดินที่เหมาะสมสำหรับพืชแต่ละชนิด เพื่อจะได้แก้ไขความเป็นกรดของดินให้อยู่ในช่วงพอดีกับความต้องการของพืชชนิดนั้นๆ พืชหลายชนิดสามารถทนทานและเจริญเติบโตได้ดีในดินกรด เช่น ข้าว แตงโม ข้าวโพด ข้าวฟ่าง อ้อย มันสำปะหลัง ถั่ว ยางพารา ปาล์มน้ำมัน กาแฟ กล้วย มะม่วง มะม่วงหิมพานต์ ยาสูบ และสับปะรด เป็นต้น

6) เลือกใช้ระบบการปลูกพืชที่เหมาะสม เลือกระบบการปลูกพืชที่มีระบบรากลึกสลับกับรากตื้น เพื่อเป็นการนำเอาอาหารที่ถูกชะละลายลงในดินล่างมาใช้ปลูกพืชหมุนเวียนชนิดต่างๆ สลับกับพืชตระกูลถั่ว และการปลูกหญ้าแฝกล้อมรอบไม้ผล เพื่อดักเก็บตะกอนและรักษาความชื้นในดินบริเวณรอบๆ ต้นไม้
 

ร่วมแสดงความคิดเห็น

อนุญาตให้ upload รูปภาพที่มีนามสกุล jpg,jpeg,png เท่านั้น

ข้อตกลงและเงื่อนไขการใช้เวทีโต้ตอบของกรมพัฒนาที่ดิน

  • ไม่อนุญาตให้มีการใช้งานบริการใด ๆ ที่มีเนื้อหาขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม ยกตัวอย่างเช่น ใช้คำหยาบคาย เนื้อหาหรือส่วนประกอบอื่น ๆ เป็นเรื่องลามกอนาจาร หรือในความหมายที่หมิ่นเหม่ต่อการเกิดความเสื่อมเสียต่อสังคม จริยธรรม ศีลธรรม ประเพณี และวัฒนธรรมที่ดีงามทั้งสิ้น เนื้อหาหรือส่วนประกอบอื่น ๆ ที่มีผลกระทบต่อความมั่นคง ของประเทศหนึ่งประเทศใดก็ตาม เนื้อหาหรือส่วนประกอบอื่น ๆ ที่ก่อให้เกิดความเดือดร้อน สร้างความเสียหายให้แก่บุคคลหนึ่งบุคคลใด หรือกลุ่มบุคคลกลุ่มหนึ่งกลุ่มใด
  • ไม่อนุญาตให้แสดงข้อความที่เกี่ยวกับเรื่องส่วนตัว แต่ให้ใช้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นเชิงวิชาการเท่านั้น
  • ไม่อนุญาตให้ใช้ข้อความที่เป็นการวิจารณ์ ด้านนโยบาย หรือการปฏิบัติงานของทางราชการ ซึ่งท่านสามารถใช้เวทีอื่น ๆ ดำเนินการแทนได้
  • ภาระกิจของกรมพัฒนาที่ดิน มีหน้าที่รับผิดชอบในการป้องกัน แก้ไข ส่งเสริม พัฒนาเกี่ยวกับดิน ปัญหาของดิน การใช้ที่ดินเฉพาะด้านการเกษตรและสิ่งแวดล้อมเท่านั้น จึงขอสงวนสิทธิ์ในการตอบคำถามในด้านเอกสารสิทธิ์ทุกชนิดและการพัฒนาที่ดินด้านอสังหาริมทรัพย์
  • เวทีนี้เป็นการแสดงข้อคิดเห็นอย่างอิสระโดยส่วนตัวของสมาชิกเท่านั้น กรมพัฒนาที่ดินไม่รับรองความถูกต้อง หรือความเสียหายใด ๆ ทั้งสิ้น ที่เกิดจากการนำข้อมูลที่ปรากฎไปใช้ประโยชน์ไม่ว่าทางใดๆสมาชิกต้องใช้วิจารณญาณด้วยตนเอง
  • คำถามแต่ละคำถามจะแสดงบนหน้าเว็บบอร์ดนานประมาณ 3 เดือน แล้วทางผู้ดูแลระบบจะนำคำถามเก่าลง
  • คำถามและคำตอบที่ท่านแสดงความคิดเห็นมานั้นจะยังไม่ได้ขึ้นในหน้าเว็บไซต์นี้ทันที ทางผู้ดูแลระบบจะทำการกลั่นกรองข้อความเสียก่อนว่าเหมาะสมหรือไม่ มีข้อความที่ก่อให้เกิดผลเสียกับผู้หนึ่งผู้ใดหรื่อไม่ และขอสงวนสิทธิ์ในการขึ้นคำถามและคำตอบ หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม
คลิกเพื่ออ่านข้อตกลงและเงื่อนไขการใช้เวทีโต้ตอบของกรมพัฒนาที่ดิน

ติดต่อเรา

ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กรมพัฒนาที่ดิน
ถนนพหลโยธิน เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900
โทรศัพท์: 02-579-4885
E-Mail: cit_1@ldd.go.th
เว็บไซต์นี้ แสดงผลได้สมบูรณ์ กับ Internet Explorer 9 ขึ้นไป, Google Chrome, Firefox, และ Safari